ช็อก! หนี้ครัวเรือนพุ่ง 16.07 ล้านล้านบาท ห่วงกลุ่มเปราะบางจ่ายคืนหนี้ไม่ได้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 2 ปี 2566 มีทั้งสิ้น 16.07 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.7% ต่อจีดีพี อยู่ระดับทรงตัวเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่หนี้อยู่ระดับสูงจนน่ากังวล
ก่อนหน้านี้ น.ส.อัจจนา ล่ำซำ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบแบบจำลองและวิเคราะห์สถาบันการเงิน ธปท. ได้แสดงความเป็นห่วงการชำระหนี้คืนของครัวเรือนในกลุ่มคนเปราะบาง มีรายได้น้อย รายได้ฟื้นตัวช้า โดยยังเชื่อมั่นธนาคารพาณิชย์มีวิธีบริหารจัดการคุณภาพหนี้ต่อเนื่อง แม้หนี้เอ็นพีแอล หรือค้างชำระเกิน 90 วันขึ้นไปปรับเพิ่มทุกพอร์ตสินเชื่อทั้งบ้าน รถ บัตรเครดิตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้ให้ข้อมูลหนี้ที่น่ากังวลและต้องเร่งแก้ไขคือ ลูกหนี้เอ็นพีแอลที่เกิดจากโควิด หรือลูกหนี้บัญชีรหัส 21 ซึ่งมีทั้งสิ้น 3.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.5 ล้านคน รวม 5 ล้านบัญชี ห่วงที่สุดคือหนี้รถยนต์ 3.9 หมื่นล้านบาท จำนวน 8.8 หมื่นบัญชี และหนี้บุคคล 9.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 3.18 ล้านบัญชี เป็นต้น โดยหนี้รหัส 21 นี้ส่วนใหญ่อยู่กับแบงก์รัฐ 2.96 ล้านบัญชี คิดเป็น 1.89 แสนล้านบาท และธนาคารพาณิชย์ 5.23 แสนบัญชี คิดเป็น 1.1 แสนล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ จากข้อมูลเครดิตบูโรในไตรมาส 3 ปี 66 พบว่าหนี้เอ็นพีแอลมีมากถึง 1.05 ล้านล้านบาท คิดเป็น 7.7% ของสินเชื่อรวม คิดเป็นลูกหนี้เอ็นพีแอล 10 ล้านบัญชี โดยหนี้เสียน่ากังวลมากที่สุดเป็นหนี้เสียรถยนต์ที่มีมากถึง 6.94 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 8.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็น 2.07 แสนล้านบาท
เช่นเดียวกับหนี้ที่ใกล้เป็นหนี้เสียเอ็นพีแอลหรือค้างชำระ 30-90 วัน (เอสเอ็ม) น่ากังวลคือหนี้รถยนต์มีหนี้เอสเอ็มมากถึง 2.13 แสนล้านบาท จำนวน 5.6 แสนบัญชี และหนี้บ้าน 1.36 แสนล้านบาท จำนวน 1.05 แสนบัญชี ซึ่งหนี้รถยนต์มีปัญหาทั้งเป็นหนี้เสียและกำลังจะเป็นหนี้เสีย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจนวาย
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมแถลงแก้หนี้ในระบบวันที่ 12 ธ.ค.นี้ ทางธนาคารและสมาคมธนาคารไทยพร้อมทำงานร่วมกับรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมธนาคารไทยได้ทำงานร่วมกับธปท.มาต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาหนี้ เช่น การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ แก้หนี้นอกระบบ หนี้เสียเอ็นพีแอล หนี้เรื้อรัง หนี้ใหม่ ให้ความรู้กับผู้ก่อหนี้ และไม่กระตุ้นให้ก่อหนี้เกินความจำเป็น